ชื่อพื้นเมือง |
มักมัน (สุราษฎร์ธานี), มูกน้อย มูกมัน (น่าน), โมกน้อย โมกมัน (ทั่วไป),
เส่ทือ แนแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โมกมันเหลือง (สระบุรี) |
ชื่อสามัญ |
Ivory, Darabela |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Wrightia tomentosa Roem. & Schult. |
ชื่อวงศ์ |
APOCYNACEAE |
ลักษณะวิสัย/ประเภท |
- ไม้ยืนต้น |
ลักษณะทั่วไป |
- ผลัดใบขนาดใหญ่ สูง ๒๐ เมตร เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาล
หรือสีเทาอ่อนและมียางขาว |
ใบ |
- ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสสับตั้งฉาก ใบรูปรี รูปไข่หรือรูปไข่กลับ
กว้าง ๓ - ๘ เซนติเมตร ยาว ๗ - ๑๘ เซนติเมตร ปลายใบยาวคล้ายหาง
โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบนุ่มมีขนละเอียดทั้งสองด้าน |
ดอก |
- สีขาวอมเหลือง ด้านนอกสีเขียวอ่อน เมื่อดอกใกล้โรยจะเป็น
สีม่วงแกมเหลือง มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุก
ซ้อนประกอบตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาว ๔ - ๖ เซนติเมตร กลีบเลี้ยง
โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยปลายแยกเป็น ๕ แฉก มีขนหนาแน่น
ทั้งสองด้าน กลีบดอกโคนเชื่อมเป็นหลอดปลายแยกเป็น ๕ แฉก
ดอกบานจะบิดเป็นรูปกังหัน กว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร |
ผล |
- ผลแห้งแตก เป็นฝัก รูปทรงกระบอก กว้าง ๘ - ๑๓ เซนติเมตร
ยาว ๙ - ๓๐ เซนติเมตร มีร่อง ๒ ร่อง อยู่ตรงข้ามกัน ผิวขรุขระ
เมล็ดมีขนอ่อนสีน้ำตาล ยาวติดกันเป็นกระจุก คล้ายโมกหลวง |
ขยายพันธุ์ |
- เพาะเมล็ด |