ชื่อพื้นเมือง |
กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ) , จอมทอง (ภาคใต้) , จ้า (เขมร) ,
ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง) |
ชื่อสามัญ |
Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree,
Kino tree |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Butea monosperma Kuntze. |
ชื่อวงศ์ |
LEGUMINOSAE |
ลักษณะวิสัย/ประเภท |
- ไม้ยืนต้น |
ลักษณะทั่วไป |
- ผลัดใบสูง ๘ – ๑๕ เมตร เปลือกสีเทาคล้ำแตกเป็นร่องตื้นๆ
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย ๓ ใบออกสลับกัน
ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งก้านและที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองถึงแดงแสด
ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบน
มีเมล็ดที่ปลายฝัก |
ใบ |
- เป็นใบประกอบขนนก ( pinnately compound leaf)
๓ ใบย่อย ( trifoliolate) ติดเรียงเวียนสลับแน่นบริเวณปลายกิ่ง |
ดอก |
- ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งเหนือรอยแผลใบ และตามปลายกิ่ง
ฐานรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ดอกมีลักษณะเป็นดอกถั่ว
ขนาดใหญ่ มีกลีบดอก ๕ กลีบ ดอกมีสีเหลืองถึงแดงแสด
ว่ากันว่าดอกสีแสดเหลืองจะหายากมาก ขณะที่ “ ทองกวาว ”
ออกดอกจะทิ้งใบจนหมดต้น และมีดอกเต็มพรึบไปทั่วทั้งต้น
คล้ายกับต้น “ ทองหลางด่าง ” หรือ “ ปาริชาต ”
ออกช่วงระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม |
ผล |
- มีลักษณะเป็นฝักแบน โค้งงอเล็กน้อย ฝักยาวประมาณ
๑๐ - ๑๒ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒ - ๓ เซนติเมตร
เปลือกนอกสีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักมีเมล็ดแบน
๑ - ๒ เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก |
ขยายพันธุ์ |
- โดยการตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด โดยนำไปแช่น้ำเป็นเวลา ๒ ชั่วโมง
จากนั้นอีกประมาณ ๑๐ วัน เมล็ดจึงจะงอก |