- - - ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์ " โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ " จัดทำโดย ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๓ - - -

หน้าหลัก
สาระน่ารู้
แผนที่ตั้งโครงการ
ข่าวสาร
ติดต่อเรา
 
 




โครงการศิลปาชีพพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง พื้นที่ภูขัด
ภูเมี่ยง ภูสอยดาว อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก



สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นประดู่
เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗
  

     ทรงปลูกต้นประดู่
บริเวณ ด้านหน้าสำนักงาน โครงการ พมพ.ภูขัดฯ
   
ต้นประดู่

ชื่อพื้นเมือง ประดู่ , ดู่บ้าน , สะโน (ภาคใต้)
ชื่อสามัญ Padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plerocarpus Indicus
ชื่อวงศ์ FABACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท - ไม้ยืนต้น
ลักษณะทั่วไป - ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ ๒๕ เมตร
ใบ - ใบจะออกรวมกันเป็นช่อ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม
ถ้าขึ้นในที่แล้งจะผลัดใบก่อนออกดอก
ดอก - ดอกออกเป็นช่อมีสีเหลืองสดลักษณะคล้ายดอกถั่ว โคนกลีบเลี้ยง
กลีบดอกติดกันเป็นกรวยโค้งเล็กน้อย กลีบดอกมี ๕ กลีบ
มีขนาดดอกเล็ก ขณะดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ
๐.๕ - ๑ ซม. ดอกบานไม่พร้อมกัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ดอกที่ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล
ผล -
ขยายพันธุ์ - โดยการเพาะเมล็ด




สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นพะยอม
เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๘
  

     ทรงปลูกต้นพะยอม
บริเวณ ด้านหน้าสำนักงาน โครงการ พมพ.ภูขัดฯ
   
ต้นพะยอม

ชื่อพื้นเมือง พะยอม, กะยอม
ชื่อสามัญ Shorea
ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea Roxburghii
ชื่อวงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท - ไม้ยืนต้นประเภทใบเลี้ยงเดี่ยว
ลักษณะทั่วไป - เป็นไม้ต้นสูง ๑๕ - ๓๐ เมตร เปลือกสีเทาเข้มแตกเป็นร่อง
ใบ - ใบเดี่ยวออกสลับ รูปขอบขนานกว้าง ๓.๕ - ๖.๕ เซนติเมตร
ยาว ๘ - ๑๕ เซนติเมตร ปลายมนหรือเป็นติ่งสั้นๆ โคนมน
ขอบเป็นคลื่นผิวเกลี้ยงเป็นมัน
ดอก - ดอกออกเป็นช่อดอกใหญ่สีขาว ออกตามกิ่ง กลีบเลี้ยงมี ๕ กลีบ
โคนเชื่อมติดกัน เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง
๑ - ๒ เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก ออกดอกพร้อมกันเกือบทั้งต้น
ผล - ผลรูปรีกว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร
กลีบเลี้ยงเจริญไปเป็นปลีกยาว ๓ ปลีกสั้น ๒ ปลีกคล้ายผลยา
ขยายพันธุ์ - โดยการเพาะเมล็ด




สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นพญาสัตบรรณ
เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๙
  

     ทรงปลูกต้นพญาสัตบรรณ
บริเวณ ด้านหน้าอาคารทรงงาน (ซ้าย)
   
ต้นพญาสัตบรรณ

ชื่อพื้นเมือง จะบัน ตีนเป็ด ตีนเป็ดขาว บะซา ปูลา ปูแล หัสบรรณ ยางขาว สัตบรรณ
ชื่อสามัญ White Cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia cholaris (Linn.) R.Br.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท - ไม้ยืนต้น
ลักษณะทั่วไป - ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง ๑๕ - ๓๐ เมตร ผลัดใบ ทรงพุ่มแผ่เป็นชั้นๆ คล้ายร่ม
เปลือกสีเทาปนดำ น้ำยางสีขาว แตกกิ่งรอบต้น
ใบ - ลักษณะเป็นใบเดี่ยวออกเป็นวงรอบๆ รูปหอกกลับ หรือรูปขอบขนาน
ปลายใบมนหรือเว้า
ดอก - ออกดอกเป็นช่อกระจุก ช่อใหญ่ สีขาวที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอก
ออกซ้อนกันเหมือนฉัตรประมาณ ๒ – ๓ ชั้น กลีบรองดอกมีขนาดเล็ก
มีขนสีขาวอมเหลืองนวล ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ผล -
ขยายพันธุ์ - โดยการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง  สภาพที่เหมาะสมคือ ดินร่วนซุย
แสงแดดจัด




สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นโมกมัน
เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๐
  

     ทรงปลูกต้นโมกมัน
บริเวณ ด้านหน้าอาคารทรงงาน (ขวา)
   
ต้นโมกมัน

ชื่อพื้นเมือง มักมัน (สุราษฎร์ธานี), มูกน้อย มูกมัน (น่าน), โมกน้อย โมกมัน (ทั่วไป),
เส่ทือ แนแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โมกมันเหลือง (สระบุรี)
ชื่อสามัญ Ivory, Darabela
ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia tomentosa Roem. & Schult.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท - ไม้ยืนต้น
ลักษณะทั่วไป - ผลัดใบขนาดใหญ่ สูง ๒๐ เมตร เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาล
หรือสีเทาอ่อนและมียางขาว
ใบ - ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสสับตั้งฉาก ใบรูปรี รูปไข่หรือรูปไข่กลับ
กว้าง ๓ - ๘ เซนติเมตร ยาว ๗ - ๑๘ เซนติเมตร ปลายใบยาวคล้ายหาง
โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบนุ่มมีขนละเอียดทั้งสองด้าน
ดอก - สีขาวอมเหลือง ด้านนอกสีเขียวอ่อน เมื่อดอกใกล้โรยจะเป็น
สีม่วงแกมเหลือง มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุก
ซ้อนประกอบตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาว ๔ - ๖ เซนติเมตร กลีบเลี้ยง
โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยปลายแยกเป็น ๕ แฉก มีขนหนาแน่น
ทั้งสองด้าน กลีบดอกโคนเชื่อมเป็นหลอดปลายแยกเป็น ๕ แฉก
ดอกบานจะบิดเป็นรูปกังหัน กว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร
ผล - ผลแห้งแตก เป็นฝัก รูปทรงกระบอก กว้าง ๘ - ๑๓ เซนติเมตร
ยาว ๙ - ๓๐ เซนติเมตร มีร่อง ๒ ร่อง อยู่ตรงข้ามกัน ผิวขรุขระ
เมล็ดมีขนอ่อนสีน้ำตาล ยาวติดกันเป็นกระจุก คล้ายโมกหลวง
ขยายพันธุ์ - เพาะเมล็ด

      สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นศุภโชค (นุ่นน้ำ)
เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๕

 ทรงปลูกต้นศุภโชค (นุ่นน้ำ)
บริเวณ ด้านหน้าอาคารทรงงาน

ต้นศุภโชค (นุ่นน้ำ)

ชื่อพื้นเมือง ศุภโชค (นุ่นน้ำ)
ชื่อสามัญ Malabar Chestnut , Guyana Chestnut , Saba Nut
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pachira Aquatica
ชื่อวงศ์ -
ลักษณะวิสัย/ประเภท - ไม้ยืนต้น
ลักษณะทั่วไป - ถ้าปลูกลงดินโตเต็มที่สูง ๑๕ -๒๐ ฟุต ทรงพุ่มกว้าง ๒ - ๓ เมตร
แตกกิ่งเป็นชั้นๆ ขึ้น เป็นไม้เนื้ออ่อน
ใบ - เป็นใบติดกัน หนึ่งก้านใบจะมีใบ ๕ - ๗ ใบ ใบมีความเงาเป็นมัน
สีเขียวเข้ม
ดอก - ออกเป็นช่อลักษณะฟู่สีขาว ยาว ๕ - ๘ เซนติเมตร
มีกลิ่นหอมเวลากลางคืน
ผล - ผล เป็นผลรวม เปลือกแข็ง คล้ายนุ่นแต่ผลสั้นและกลมกว่า
ขนาดผลเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ - ๔ นิ้ว ยาว ๖ - ๘ นิ้ว ใน ๑ ผลมี
๑๒ - ๑๕ เมล็ด เมื่อแก่จัดเปลือกจะดีดตัวเปิดออก
และเมล็ดข้างในจะล่วงลงใต้ต้น
ขยายพันธุ์ - โดยการตอนกิ่งปักชำ


>>>> : หน้าหลัก : ต้นไม้ทรงปลูก : พระราชเสาวนีย์

 




 

 

ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๓
(ศปร.กอ.รมน.ภาค ๓)
ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อ.เมือง จ.พิษณุโลก ๖๕๐๐๐
โทร. ๐-๕๕๒๕-๘๗๒๑, ทบ. ๗๓๒๑๕, E-mail : army_isoc3@hotmail.com