|
สัญลักษณ์งานเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสมหามงคล พระราชพิธีพิเศษในรัชกาลปัจจุบัน
สัญญลักษณ์งานเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา |
|
๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
|
พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙ เป็นภาพพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระ เป็นอุณาโลม รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือวงจักรเป็นพระเศวตฉัตร ๗ ชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ อุทุมพรราช อาสน์อันหมายถึง พระองค์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ มีพระบรมเดชานุภาพเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โดยในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์ได้ประทับเหนือ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ตามโบราณราชประเพณี และสมาชิกรัฐสภาได้ถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปดเป็นครั้งแรกแทนราชบัณฑิต ส่วนพระแท่นลานั้นโรยด้วยดอกพิกุลเงินพิกุล ทอง ๙ ดอก พระราชลัญจกรล้อมรอบด้วยเพชร ๘๐ เม็ด หมายถึงพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ด้านบนพระราชลัญจกรเป็นพระมหาพิชัยมงกุฎ อันเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ และเป็นเครื่องหมาย แห่งความเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช ภายในพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นเลข ๙ หมายถึงรัชกาลที่ ๙ พระมหาพิชัยมงกุฎนั้นอยู่ด้านหน้า พระนพปฎลมหาเศวตฉัตรซึ่งอยู่กึ่งกลางและขนาบข้างด้วยพระเศวตฉัตร ๗ ชั้น อันเป็นเครื่องแสดงพระราชอิสริยยศอันยิ่งใหญ่ ของพระมหากษัตริย์ด้านล่างพระราชลัญจกรเป็นเลข ๘๐ หมายถึงพระองค์มีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ถัดจากเลขไทยลงมาเป็นแพรแถบ บอกชื่องานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ แพรแถบนอกจากบอกชื่องานพระราชพิธีแล้ว ยังรองรับประคองพระเศวตฉัตรด้วย
|
|
พระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ
สัญลักษณ์งานเฉลิมฉลองสิรราชสมบัติครบ ๖๐ ปี |
|
|
|
๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
|
อักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. สีเหลืองนวลทอง อันเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพ ขลิบรอบตัว อักษรด้วยสีทองบนพื้นสีน้ำเงินเจือทอง อันเป็นสีประจำสถาบันพระมหากษัตริย์ ล้อมด้วยเพชรอันเป็นเอกแห่งรัตนะ หมายว่า เหล่านักปราชญ์ ราชกวีสำคัญ อีกบรรดาช่างอันมีชื่อ พระยาช้างสำคัญนางงาม เหล่าทแกล้วทหาร ข้าราช บริพาร อันยอดฝีมือในการปฏิบัติราชการอย่างสุจริตยิ่ง เหล่านี้เปรียบด้วยเพชรอันชื่อว่ารัตนะ แวดล้อมประดับพระ เกียรติยศแห่งพระมหากษัตริยาธิราชพระองค์นั้นอันเหนือยิ่งกว่าเพชรอันได้ชื่อว่ารัตนะทั้งปวง คืพระมหากษัตริย์ผู้ทรง สถิตเป็นเพชรอันยอดค่ายิ่งในดวงใจราษฎร์ ทรงบำบัดทุกข์ผดุงสุขเป็นที่พึ่งอันเกษมสุขร่มเย็นแก่ปวงพสกนิกรซึ่งต่างเชื้อ ชาติศาสนาในพระราชอาณาจักรของพระองค์ อนึ่ง อักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร.นี้ ประดิษฐานบนพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ประกอบพระอุณาโลม อันเป็นหนึ่งในเครื่องเบญจสิริราชกกุธภัณฑ์ แวดล้อมด้วย พระแสงขรรค์ชัยศรีและพระแส้ขน หางจามรีทอดสอดอยู่ในกงพระที่นั่งภัทรบิฐ เบื้องซ้ายแห่งพระมหาพิชัยมงกุฎ มีธาร พระกรและพัชนีฝักมะขามทอดสอด อยู่เบื้องขวาแห่งกงพระที่นั่งภัทรบิฐอันประดิษฐานบนฐานเขียง ซึ่งทอดฉลองพระบาทประดิษฐานอยู่ เหล่านี้รวมเรียกว่า เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ประกอบด้วยสิ่งอัน แสดงความเป็นกษัตริย์ทั้ง ๕ คือ พระมหาพิชัยมงกุฎ๑ พระแสงขรรค์ชัยศรี ๑ ธารพระกร ๑ พัดวาลวิชนีและพระแส้ ๑ ฉลองพระบาท ๑ ถึงปีแห่งการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ล่างลงมาเป็นแพรแถบสีชมพูขลิบทองเขียนอักษรสีทอง ความว่า ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙ ปลายแห่งแพร แถบผูกเป็นภาพกระบี่ เป็นวานรกายขาวมือถือก้านลายซุ้ม อันเป็นกรอบลายของตราสัญลักษณ์ ฯ อยู่ด้านขวา ส่วนด้านซ้ายปลายแพรแถบผูกเป็นภาพครุฑ เป็นครุฑหน้าขาวกายสีเสน ปนทอง มือถือก้านลายกรอบแห่งตราสัญลักษณ์ ฯ พื้นภาพตราสัญลักษณ์ ฯ เฉลิมพระเกียรติทั้งหมดสีเขียวปนทอง อันหมายถึง สีอันเป็นเดชแห่งวันพระบรมราชสมภพ และยังหมายถึงสีของความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์แห่งผืนภูมิประเทศที่ทรงปกครอง ทำนุบำรุงอย่างหนักยิ่งมาตลอดระยะเวลา ที่ทรงครองสิริราชสมบัติมา ณ บัดนี้ถึงมหามงคลสมัยที่จะฉลองเฉลิมพระเกียรติ ในการครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี อันยาวนานที่สุดยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในพระราชพงศาวดารในสยาประเทศ
|
|
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ |
|
|
|
๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ |
|
1.อักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร.
ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ อยู่ตรงกลางตราสัญลักษณ์ฯ ประดิษฐานอยู่ เหนือพระที่นั่งอัฐทิศ เป็นการแสดงความหมายว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจ ของคนไทยทั้งชาติ ทรงเป็นที่ยึดเหนี่ยว และเป็นที่เคารพบูชาอย่างสูงสุด ของประชาชน สีเหลืองของอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. เป็นสีประจำวันพระราชสมภพ อยู่บนพื้นวงกลมสีน้ำเงิน ซึ่งหมายถึงพระมหากษัตริย์ ล้อมรอบด้วยตราพระแสงจักร และมีเลข ๙ บนอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ซึ่งหมายถึงทรงเป็น พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ มีสัปตปฎเศวตฉัตร ประกอบอยู่ ๒ ข้าง ซ้าย-ขวา และมีนพปฎลมหาเศวตฉัตร ประดิษฐานอยู่เบื้องบนสุด
2.เส้นกรอบรอบนอก
ที่ออกแบบให้มีลักษณะ เป็น ๔ แฉก หรือ ๔ ส่วน แทนประชาชนชาวไทย ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่อยู่ภายใต้ พระบรมโพธิสมภารของพระองค์ ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข สีพื้นที่ใช้จึงเป็นโทนสีเขียว อันแสดงถึงความสงบร่มเย็น และอุดมสมบูรณ์ มีดอกบัว ๔ ดอก แทรกตรงกลางระหว่างแฉกทั้ง ๔ แสดงความหมาย เป็นการเทิดทูนบูชา ในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
3.รัศมีสีทอง โดยรอบตราสัญลักษณ์ฯ
เปรียบได้ดังพระบุญญาบารมี พระมหากรุณาธิคุณ และน้ำพระราชหฤทัย ที่แผ่ไพศาลไปทั่วทุกทิศ ทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก ยังความปลาบปลื้ม มาสู่พสกนิกรทุกหมู่เหล่า
4.เบื้องล่างตราสัญลักษณ์ฯ
ออกแบบเป็นแพรแถบสีน้ำเงิน แสดงข้อความพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
|
|
|
|
|
|
วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๙ |
|
ตราสัญลักษณ์ งานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี
ออกแบบโดย นางสาววิยะดา เจริญสุข
(เป็นแบบตราที่ชนะการประกวดตราสัญลักษณ์งานดังกล่าวโดยกรมศิลปากร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระบรมราชวินิจฉัยเพื่อแก้ไขปรับปรุงแบบตราเพิ่มเติมก่อนพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ได้)
ประกอบด้วย
(๑)พระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ เป็นหลักสำคัญ
(๒)มีตราพระบรมราชวงศ์จักรี และพระมหาพิชัยมงกุฎอยู่ด้านบน เป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นพระมหากษัตริย์แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์
(๓)มีพานเครื่องสูง ๒ ชั้น ที่มักอยู่ในมโนภาพของผู้คนทั่วไป เมื่อนึกถึงสัญลักษณ์ของรัฐธรรมนูญ อันเป็นเครื่องหมายแสดงถึงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
(๔)มีช้าง ๒ เชือก เทินตราพระราชลัญจกร อยู่ภายใต้พระเศวตฉัตร สามารถแปลความหมายได้หลายทาง ดังนี้
๑.ช้าง เป็นพระราชพาหนะของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นเสมือนข้าช่วงใช้ของพระมหากษัตริย์ จึงเปรียบได้กับประชาชน ซึ่งเสมือนเป็นข้ารับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท
ในสัญลักษณ์จึงเสมือนพสกนิกรเทิดทูนและเชิดชูองค์พระมหากษัตริย์ และพระบรมราชวงศ์จักรี ขณะเดียวกัน ก็อยู่เย็นเป็นสุข ภายใต้ร่มพระมหาเศวตฉัตร
๒.ช้างเผือก เป็นสัตว์คู่พระบารมีขององค์พระมหากษัตริย์ อีกทั้งตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ช้างเผือกที่มีลักษณะตรงตามตำรา
จะมีส่วนช่วยเกิดทั้งแสนยานุภาพ และพระปรีชาสามารถ ความรอบรู้ แก่องค์พระมหากษัตริย์ จึงแสดงถึงความเป็นผู้มีบุญญาธิการ และทรงพระปรีชาญาณ
๓.ช้าง มีความเป็นมาคู่กับประวัติศาสตร์ของชาติมาโดยตลอด อีกทั้งเป็นสัญลักษณ์ที่เคยใช้ในธงชาติไทยในอดีต และเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาว จึงเปรียบได้กับประเทศไทย ซึ่งก็มีอายุและประวัติศาสตร์อันยาวนานเช่นกัน เหตุผลประกอบอื่นๆ ช้าง เป็นหนึ่งในสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ที่สมควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้ การนำมาใช้ในตราสัญลักษณ์ฯ ก็เพื่อหวังผลต่อเนื่อง ที่อาจจะช่วยกระตุ้นให้คนไทยเล็งเห็นความสำคัญ ของสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ และช่วยกันเกื้อกูลอนุรักษ์ไว้บ้าง และหากแม้ว่าวันข้างหน้าช้างสูญพันธุ์ไป อย่างน้อยก็ยังมีรูปพรรณ และความเป็นมาของช้าง หลงเหลือไว้ในตราสัญลักษณ์ฯ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึง ที่มาของตราสัญลักษณ์ฯ กรมศิลปากร มีความมุ่งหมายให้ตราสัญลักษณ์ สื่อความหมาย ดังนี้ คือ
๑.เป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมราชวงศ์จักรี
๒.จะต้องแสดงให้ประจักษ์ในศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย ตลอดทั้งเอกลักษณ์ของชาติ อย่างถูกต้อง
๓.แสดงให้ประจักษ์ในความภาคภูมิใจ ที่ชาวไทยได้มี สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราช ผู้ทรงพระปรีชาญาณยิ่ง
และทรงปกครองประชนชาวไทย ในระบอบประชาธิปไตย อย่างร่มเย็นเป็นสุข มาถึง ๕๐ ปี
๔.แสดงให้ประจักษ์ในความเป็นชาติ ที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน
|
|
พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก |
|
|
|
วันที่ ๒-๓ และ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ |
|
พระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ |
|
|
|
พระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ
๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐ |
|
พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๕๐ พรรษา |
|
|
|
พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๕๐ พรรษา พุทธศักราช ๒๕๒๐
๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ |
|
พระราชพิธีมหามงคลเนื่องจากวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา
ครบ ๓ รอบพระนักษัตร |
|
|
|
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระราชพิธีมหามงคลเนื่องจากวโรกาสที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ ๓ รอบพระนักษัตร |
|
พระราชพิธีรัชดาภิเษก |
|
๙ มิถุนายน ๒๕๑๔
๑.ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชดาภิเษก ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔
มีลักษณะเป็นรูปพระมหามงกุฎประดิษฐาน บนพานแว่นฟ้ามีรัศมีแผ่โดยรอบตั้งอยู่บนวิมาเมฆ ระหว่างพระมหามงกุฎและพานมีตราอุณาโลมหรือเลข ๙ อันหมายถึง รัชกาลที่ ๙ ข้างพานมีราชสีห์และคชสีห์ค้ำจุนขนาบเศวตฉัตรซ้ายขวา ด้านล่างมีอักษร "รัชดาภิเษก ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔ ที่ระลึกพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี"
๒.ตราสัญลักษณ์นี้มีปรากฏใช้เพียง ๒ แห่ง
คือ ภายในพัดรองจำนวน ๒๐๐ เล่ม เพื่อถวายแต่พระสงฆ์ตั้งแต่ชั้นเจ้าคณะจังหวัดขึ้นไปตามโบราณราชประเพณี และหนังสือที่ระลึกซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นในวโรกาสนี้ มิได้มีใช้ทั่วไป
๓.พัดรองที่ระลึกทั้ง ๒๐๐ เล่ม ตราสัญลักษณ์จะไม่มีแถบข้อความ"ที่ระลึกพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี"
|
|